Customs Clearance คืออะไร? สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ก่อนนำเข้า-ส่งออก

การเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดนไม่ได้เป็นเพียงแค่การขนส่งสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเท่านั้น แต่ยังมีกระบวนการอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกสินค้าคือ “พิธีการศุลกากร (Customs Clearance)” ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าทุกคนต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น ถูกต้องตามกฎหมาย และหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักพิธีศุลกากร(Customs Clearance) พร้อมตอบคำถามที่หลายคนสงสัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเข้าส่ง-ออกสินค้า

Customs Clearance คืออะไร?

Customs Clearance คือ พิธีการศุลากร ซึ่งหมายถึง กระบวนการทางกฎหมายและการบริการจัดการ ที่เกี่ยวข้องกับการนำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออกจากประเทศ โดยมีหน่วยงานศุลกากรของแต่ละประเทศเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการ กระบวนการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดเก็บภาษีอากร ควบคุมสินค้า รักษาความมั่นคงของประเทศ และรวบรวมสถิติการค้า

ประเภทของ Customs Clearance

ประเภทของ Customs Clearance หรือพิธีการศุลกากรสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

การดำเนินการ Import Customs Clearance

พิธีการนำเข้า (Import Clearance) เป็นกระบวนการสำหรับสินค้าที่นำเข้ามาในประเทศ เพื่อการบริโภค ใช้ในประเทศ หรือเพื่อการผลิต ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบของหน่วยงานศุลกากรปลายทางให้เรียบร้อยจึงจะสามารถนำเข้าสินค้าประเทศปลายทางได้ จึงต้องมีการทำเอกสารขออนุญาตและชำระภาษีก่อนนำเข้าสินค้าอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

การดำเนินการ Export Customs Clearance

พิธีการส่งออก (Export Clearance) เป็นกระบวนการสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการขาย การให้เปล่า หรือวัตถุประสงค์อื่น ๆ ซึ่งจะต้องผ่านการอนุญาตจากหน่วยงานศุลกากรของประเทศต้นทาง และมีการจัดเตรียมเอกสารตามเงื่อนไขนำเข้าสินค้าของประเทศปลายทางล่วงหน้า

ขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับ Customs Clearance

ขั้นตอนและเอกสารสำหรับนำเข้า (Import Clearance) สำหรับนำเข้า ประกอบไปด้วย

ขั้นตอน Import Clearance


• จัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นให้ครบถ้วน
• ยื่นใบขนส่งสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรพิจารณา
• เจ้าหน้าที่ศุลกากรทำการตรวจสอบเอกสาร สินค้า และอาจมีการสุ่มตรวจเพิ่มเติม
• เจ้าหน้าที่ศุลกากรประเมินราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากร
• ผู้นำเข้าทำการชำระภาษีอากร
• เมื่อขั้นตอนทุกอย่างผ่านแล้ว เจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้นำเข้าสินค้าเข้าประเทศ

เอกสาร Import Clearance


• บัญชีราคาสินค้า (Commercial Invoice)
• ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill)
• บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
• ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)
• ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) *กรณียื่นขอลดอัตราภาษีอากร
• หนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (ถ้ามี)
• ใบอนุญาตนำเข้าสินค้า (ถ้ามี)

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Customs Clearance

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Customs Clearance หรือพิธีการศุลกากร เพื่อตอบข้อสงสัยก่อนการนำเข้า – ส่งออกสินค้าของผู้ประกอบการให้ได้มั่นใจก่อนนำเข้า-ส่งออกสินค้า

Import กับ Export Customs Clearance ต่างกันอย่างไร?

Import กับ Export Customs Clearance ต่างกันที่ทิศทางของการเคลื่อนย้ายสินค้า เอกสารที่ต้องใช้ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องจะเน้นไปที่การควบคุมการนำเข้าหรือส่งออก โดยสามารถอธิบายความแตกต่างออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้ดังนี้
• Import Customs Clearance (พิธีการนำเข้า) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศที่เราอยู่ มีขั้นตอนหลัก ๆ คือ การยื่นใบขนสินค้านำเข้า การตรวจสอบเอกสารและสินค้า การประเมินและชำระภาษีอากร (ถ้ามี) และการปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร จุดประสงค์หลักคือการควบคุมสินค้าที่เข้ามา การจัดเก็บภาษี และการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า
• Export Customs Clearance (พิธีการส่งออก) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการนำสินค้าออกจากประเทศที่เราอยู่ไปยังต่างประเทศ มีขั้นตอนหลัก ๆ คือ การยื่นใบขนสินค้าส่งออก การตรวจสอบเอกสารและสินค้า (ในบางกรณี) และการอนุญาตให้ส่งออก จุดประสงค์หลักคือการควบคุมสินค้าที่ออกจากประเทศ การรวบรวมสถิติการค้า และการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก รวมถึงกฎหมายของประเทศปลายทาง

ขั้นตอนศุลกากรใช้เวลานานหรือไม่?

ขั้นตอนศุลกากรใช้เวลานานหรือไม่นั้น โดยทั่วไป หากเอกสารถูกต้องครบถ้วน สินค้าไม่มีปัญหา และผ่านช่องเขียวหรือช่องเหลือง พิธีการอาจเสร็จสิ้นภายใน 1-2 วันทำการ แต่ในบางกรณีปัจจัยง หากต้องผ่านช่องแดงหรือมีปัญหาอื่น ๆ อาจใช้เวลานานกว่านั้น จึงไม่สามารถระบุระยะเวลาที่แน่นอนได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความถูกต้องของเอกสาร ประเภทของสินค้า ช่องทางการตรวจสอบ ปริมาณงานของเจ้าหน้าที่ วิธีการดำเนินการ โดยการยื่นเอกสารและดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Customs) โดยทั่วไปจะเร็วกว่าการยื่นเอกสารด้วยตนเอง

จะติดต่อกรมศุลกากรเพื่อดำเนินการได้อย่างไร?

กรมศุลกากรมีช่องทางการติดต่อและดำเนินการหลายช่องทาง ดังนี้:
• สำนักงานศุลกากร: คุณสามารถติดต่อสำนักงานศุลกากรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าของคุณ โดยสามารถค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ได้จากเว็บไซต์ของกรมศุลกากร (https://www.customs.go.th/)
• เว็บไซต์กรมศุลกากร (www.customs.go.th): เว็บไซต์เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบพิธีการ ประกาศต่างๆ รวมถึงช่องทางการติดต่อและบริการออนไลน์ต่างๆ
• ระบบบริการออนไลน์ (e-Customs): สำหรับการยื่นเอกสารใบขนสินค้า การชำระภาษี และการดำเนินการอื่นๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ คุณจะต้องลงทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ
• สายด่วนศุลกากร 1164: เป็นช่องทางสำหรับสอบถามข้อมูลทั่วไปและแจ้งเรื่องร้องเรียน

Scroll to Top