อากรนำเข้าคืออะไร
เหตุผลที่ต้องจ่ายอากรนำเข้า
- อากรนำเข้านับเป็นหนึ่งในรายได้สำคัญของรัฐบาลที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป
- การจ่ายอากรนำเข้าในอัตราที่เท่ากันทุกคน เป็นหนึ่งหลักที่สร้างให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ
- การจ่ายอากรนำเข้า คือ อีกหนึ่งวิธีในการควบคุมปริมาณการนำเข้าสินค้าบางประเทศ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
ภาษีนำเข้าคำนวณจากอะไร
- C มาจาก Cost หมายถึงมูลค่าสินค้า หรือราคาซื้อจากผู้ขาย
- I มาจาก Insurance หรือประกันภัยสินค้า ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการทำประกันสินค้าระหว่างขนส่ง
- F มาจาก Freight คือ ค่าขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากประเทศต้นทางมายังประเทศปลายทาง อาจแตกต่างกันด้วยพาหนะที่ใช้ เช่น Sea Freight ที่ขนส่งมาทางเรือ หรือAir Freightขนส่งมาโดยใช้เครื่องบิน เป็นต้น
ซึ่งหลังจากรู้เช่นนี้แล้ว ก็ต้องมาดูกันต่อว่าพิกัดสินค้า หรือ HS Code คือพิกัดอะไร เพื่อมาดูอัตราอากรขาเข้า ซึ่งในกรณีตัวอย่างต่อไปนี้ จะคำนวณกันที่ 5%
ยกตัวอย่างเช่น สินค้าชิ้นหนึ่ง คือ รถยนต์ ราคา 500,000 บาท (C = 500,000) จะมีค่าประกันภัยสินค้า เท่ากับ 1% หรือก็คือ 5,000 บาท (I = 5,000) และมีค่าขนส่งอยู่ที่ 50,000 บาท (F=50,000) เมื่อนำทั้งสามส่วนมาบวกกันแล้ว จึงได้เท่ากับ 500,000 + 50,000 + 5,000 = 555,000 บาท
จากนั้นตัวเลขข้างต้น จะถูกนำมาคูณด้วยอัตราอากรขาเข้า 5% ที่ได้ตั้งเป็นตัวเลขสมมติกันไว้ก่อนหน้า จึงเท่ากับ 555,000 x 5% = 27,750 บาท โดยตัวเลขนี้ คือ ภาษีนำเข้า ที่จะต้องนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ต่อเท่ากับ (555,000+27,750) x 7% = 40,792.5 บาท
และเมื่อนำภาษีนำเข้ามาบวกกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะได้จำนวนภาษีทั้งหมดที่ต้องจ่าย เท่ากับ 40,792.5 + 27,750 = 68542.5 บาทนั่นเอง นับเป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการคำนวณภาษีนำเข้าอย่างสมบูรณ์
ข้อคำนึงอื่น ๆ
- อัตราอากรขาเข้าและ VAT อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ
- สินค้าบางประเภท อาจมีภาษีสรรพสามิต ภาษีมหาดไทย รวมถึงอาจมีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping) เพิ่มเติม
- ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านศุลกากร เพื่อให้ได้ข้อมูลและสูตรการคำนวณที่เป็นปัจจุบันและถูกต้องที่สุด