ประเทศไทยกับประเทศเมียนมา เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกันและมีเขตแดนติดกันยาวถึง 2,040 กิโลเมตร ทำให้การติดต่อสื่อสาร รวมถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างค่อนข้างสะดวกเมื่อเทียบกับประเทศที่อยู่ห่างไกล และแน่นอนว่าสำหรับผู้ประกอบการแล้ว นี่เป็นหนึ่งในโอกาสทองสำหรับการส่งออกและนำเสนอสินค้าให้เป็นที่รู้จักในต่างแดน แต่ก็ใช่ว่าการส่งออกสินค้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน จะทำได้ง่ายกว่าประเทศอื่น ๆ เพราะยังคงมีขั้นตอนที่ยังต้องยึดถือให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด วันนี้ Freight Ranger จึงจะมาขอแนะนำขั้นตอนการส่งของ พร้อมบริการ Freight Forwarder ที่จะเข้ามาช่วยให้การส่งออกสินค้าไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป
โอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังเมียนมา
โดยสินค้าที่เมียนมานิยมนำเข้า ได้แก่ อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบก่อสร้าง วัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรม และเครื่องจักร ส่วนสินค้าที่เมียนมานิยมส่งออกก็เช่น ข้าว ข้าวหัก แป้งข้าว ยาง และพืชผลตามฤดูกาลอย่างพริกไทย เป็นต้น
เส้นทางการส่งสินค้าไปเมียนมา
- ด่านแม่สาย จังหวัดเชียงราย อยู่ตรงข้ามอำเภอท่าขี้เหล็ก
- ด่านแม่สอด จังหวัดตาก อยู่ตรงข้ามเมืองเมียวดี
- ด่านบ้านน้ำพุร้อน จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ตรงข้ามกับเมืองทวาย
- ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ตรงข้ามกับเมืองมะริด
- ด่านระนอง จังหวัดระนอง อยู่ตรงข้ามกับเกาะสอง
ปัจจัยที่ต้องพิจารณา
ประเภทของสินค้า
ปริมาณสินค้า
ด่านชายแดน
เอกสารที่ต้องใช้
- ใบแจ้งรายการสินค้า (Commercial Invoice)
- รายการสินค้าบรรจุหีบห่อ (Packing List)
- ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)
- ใบอนุญาตนำเข้า (Import Permit)
- ใบขนสินค้า (Bill of Lading)
ที่สำคัญ คือ ต้องตรวจสอบให้ดีว่าผู้นำเข้าฝั่งเมียนมามีใบอนุญาตนำเข้าหรือยัง เพื่อการดำเนินการที่สะดวกและไหลลื่น ไม่มีติดขัด
บริษัทขนส่ง
โดยระยะเวลาการจัดส่งและค่าขนส่งสินค้าไปเมียนมา จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประเภทของสินค้า ปริมาณสินค้า ระยะทาง ด่านชายแดน และFreight Forwarderที่เลือกใช้
ประกันการขนส่ง
กฎหมายและระเบียบของเมียนมา
มีรถขนส่งสินค้าบางคันที่ยอมเสี่ยงภัยการปะทะ และขนส่งสินค้าตามเส้นทางเดิม แต่ก็ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย ขณะที่ก็มีรถอีกส่วนที่อาศัยเส้นทางป่าในการขนส่งลำเลียง เพราะเส้นทางถนนไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งก็ทำให้ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน